วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

                      
                                               
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรียนภาษาจีนในประเทศไทย


                             จากการศึกษาและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยและจีนได้มีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นต้นมาชาวจีนจำนวนไม่น้อยได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย และเกิดเป็นชุมชนชนกลุ่มน้อย ดังนั้นการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยก็ได้ถือกำเนิดขึ้น พรอมกับการอพยพสูประเทศไทยของชาวจีน เหตุจูงใจของการเรียนการสอนภาษาจีนในยุคแรกๆ เกิดจากความต้องการที่จะให้บุตรของตนเองได้สืบทอดภาษาและวัฒนธรรมของพวกเขา โดยให้ครูมาสอนที่บ้าน การสอนภาษาจีนตามศาลเจา หรือการส่งไปเรียนที่ประเทศจีน
และเมื่อเวลาได้ดำเนินไป สถานการณทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยและประเทศจีนก็เปลี่ยนแปลงไป ยังส่งผลต่อการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย โดยในระยะที่ประเทศจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยได้ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ใครที่เรียนภาษาจีนมักจะถูกมองว่าเป็นพวกที่ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต และเมื่อปี พ.ศ. 1975 ประเทศไทยและจีนไดสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การเรียนการสอนภาษาจีนจึงไดมีความสำคัญมากขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเวลาผ่าน ประชาชนจีนซึ่งถูกมองว่าเป็นดินแดนหลังม่านไม้ไผ่ในอดีต ได้กลับมาผงาดขึ้นเป็นประเทศแนวหน้าของโลกในด้านเศรษฐกิจ คงต้องมีอะไรที่น่าสนใจที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ในดินแดนที่ถูกเปิดออกสู่สาธารณชนแห่งนี้
 คำพูดที่ว่าสมัยนี้รู้แค่สองภาษาไม่พอ แต่ต้องรู้ภาษาที่ สาม สี่ ห้า น่าจะเป็นเรื่องจริงซะแล้ว เพราะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่สองกลายเป็นภาษาหลักที่ต้องรู้และสื่อสารได้ แต่ภาษาอื่น ต้องรู้เพื่อให้ทันโลก แต่เชื่อว่าหลายคนคงนึกเถียงในใจว่า แค่ภาษาที่สองยังสอบตกอยู่ทุกปี แล้วจะแบ่งสมองส่วนไหนไปเรียนภาษาที่สามอีก ถ้าเป็นสมัยก่อนคนที่เรียนภาษาที่สามได้ ก็จะเป็นเด็กสายศิลป์-ภาษา แต่เดี๋ยวนี้เด็กสายวิทย์หลายคนก็หันไปเรียนภาษาที่สามเพิ่มในเวลาว่างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะพ่อแม่สนับสนุนและอยากให้ลูกรู้หลายๆ ภาษา ซึ่งจะได้เปรียบเวลาทำงาน แต่อีกผลหนึ่งก็คือ กระแสของประชาคมอาเซียน ทำให้ตื่นตัวกันยกใหญ่ ส่งผลให้ภาษาของประเทศเอเชียบูมขึ้นมา โดยเฉพาะภาษาจีน ที่คนหันมาเลือกเรียนเยอะขึ้นมาก!!
                 ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศจีนเข้มแข็งและเติบโตขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศทางฝั่งตะวันตกเริ่มอ่อนตัวลง ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาเรียนภาษาในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี ส่วนภาษาของประเทศฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสมีคนเรียนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบัน โรงเรียนสังกัด สพฐ. สอนภาษาต่างประเทศทั้งหมด 11 ภาษา ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน รัสเซีย อาหรับ พม่า เวียดนาม เขมร ไม่นับรวมภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาบังคับ โดยภาษาที่มีผู้นิยมเรียนมากที่สุด 3 อันดับ ขณะนี้ คือ ภาษาจีน มีโรงเรียนเปิดสอนภาษาจีนประมาณ 700 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณเกือบ 300,000 คน รองลงมา ภาษาญี่ปุ่น มีสอนประมาณ 175 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณ 34,000 คน และภาษาเกาหลี เพิ่งเปิดสอนไปเมื่อปี 2553 แต่มีผู้สนใจเรียนมากถึง 12,000 คน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าวนี้ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจ - ความรู้ รองรับการดำเนินงาน ซึ่งตามแผนมีเป้าหมายให้ประชาชนไทยอย่างน้อย 500,000 คน มีความรู้ภาษาจีน สามารถสื่อสาร แสวงหาความรู้และใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้ มีสถานศึกษาเปิดสอนภาษาจีนมากขึ้นทุกระดับ และภายในปี 2555 สถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานทุกแห่งจะเปิดโปรแกรมสอนภาษาจีน ในช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โดยสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนโดยย่อ ดังนี้ รณรงค์สร้างความตระหนักและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนอย่างกว้างขวาง จัดทำมาตรฐานหลักสูตรและทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในแต่ละระดับประเภทของการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาแต่ละประเภท แต่ละระดับ ปรับใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ ส่งเสริมและพัฒนาสื่อสารการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ วางระบบพัฒนาครูสอนภาษาจีนในระยะสั้นและระยะยาวให้ได้มาจรฐาน โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพปัจจุบันและข้อมูลเกี่ยวกับครูความต้องการของครูที่ต้องการพัฒนาในระดับต่างๆ และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาครูเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความร่วมมือและสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย โดยการทำmapping โรงเรียนที่สอนภาษาจีนในประเทศไทยเพื่อกำหนดพื้นที่ที่ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมเป็นกรณีพิเศษ
 และจากรายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคุณสุวรรณ  เลียงหิรัญถาวร ปี พ.ศ. 2553 เรื่อง การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในด้านต่าง ๆ ไดแก จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอน และแจกแบบสอบถามนักเรียนที่เรียนภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัย ไดทราบถึงสภาพและลักษณะการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนดังนี้
จากความคิดเห็นของครูผู้สอน ครูผู้สอนภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นครูที่จบการศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน รับผิดชอบสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีภาระการสอน 20 – 22 ชั่วโมง/สัปดาห์ และส่วนใหญ่เคยเข้ารับการฝึกอบรมภาษาจีนมาแลว วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ เพื่อให้นักเรียนไดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาจีน สามารถใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได เนื้อหาของวิชาภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีน โดยมีการเสริมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจีน เน้นการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเสริมเนื้อหาการติวข้อสอบเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิธีการสอนที่ใช้ในกาสอนภาษาจีนมีหลากหลายวิธี เช่น การฝึกสนทนา อธิบายไวยากรณและฝึกแต่งประโยคหรือข้อความ และการคัดตัวอักษรจีน มีการทำกิจกรรมนอกชั้นเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดบอรด จัดนิทรรศการตามเทศกาล การประกวดร้องเพลงจีน เป็นต้น สื่อการสอนที่ใช้มีหลายหลายรูปแบบ เช่น CD เพลง , VCD การตูน, หนังสือ/นิตยสาร/วารสาร, ฮั่นจื้อกง, เว็บไซต เป็นต้น สวนการวัดและประเมินผล ใช้เกณฑ์คะแนน 80 : 20 และ 70 : 30 ซึ่งมีการเก็บคะแนนระหว่างภาคจากแบบฝึกหัด, การสอบย่อยในแต่ละทักษะ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนสอนภาษาจีน พบปัญหาเรื่องเอกสารและหนังสือที่ใช้สอนในแต่ละโรงเรียน ยังไมเป็นมาตรฐานเดียวกัน, ไมมีแผนการสอนและสื่อการสอนที่เป็นมาตรฐาน, ปัญหาเรื่องขาดห้องภาษา และอุปกรณ์ฝึกทักษะ เนื้อหาของแบบเรียนกับข้อสอบที่ใช้สอบเขามหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกันมากทำให้นักเรียนต้องเรียนเสริมเพื่อการสอบ
จากความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนภาษาจีน นักเรียนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุของนักเรียนส่วนใหญ่คือ 16 ป 17 ปและ 18 ป นักเรียนคิดว่าเนื้อหาของวิชาภาษาจีนที่เรียนมีความเหมาะสมปานกลาง ในด้านวิธีการสอน นักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีวิธีการสอนที่เน้นปฏิบัติมาก โดยเฉพาะการสอนแบบเน้นทักษะการเขียน การอ่าน และการพูด ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่มีการปฏิบัติมากคือ อาจารย์ให้นักเรียนคัดคำศัพท์เป็นการบ้าน ในด้านสื่อการสอน พบว่ามีการใช้สื่อการสอนเหมาะสมในระดับปานกลาง สวนการวัดและประเมินผล นักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมปานกลาง
ทุกวันนี้ การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนในระดับประถมศึกษา เริ่มมีบทบาทสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อผู้เรียน และยังเป็นรากฐานในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
สำหรับภาษาไทย หลายๆ คนคงจะสงสัยว่า ภาษาของเราไม่มีบทบาทอะไรบ้างเลยหรอ ถึงจะไม่ค่อยมีข่าวอะไรออกมา แต่ขอบอกว่าภาษาไทยของเรา ก็มีคนต่างชาติเรียนอยู่เยอะเหมือนกันนะ อย่างมหาวิทยาลัยคิวชูของประเทศญี่ปุ่นเอง ก็มีเปิดวิชาภาษาไทย ให้นักศึกษาลงเรียนและพอเรียนได้สักระยะก็จะมาแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาษาไทยสำเนียงเพราะ พูดแล้วเหมือนร้องเพลง แต่เรียนยากมากๆ ได้ยินแบบนี้แล้ว เวลาได้ยินคนต่างชาติพูดภาษาไทยชัด และถูกต้อง ผู้เขียนรู้สึกปลื้มทุกที และภูมิใจมากๆ ที่ภาษาไทยของเราก็มีชาวต่างชาติชื่นชอบ ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นคนไทย เรียนภาษาที่สามได้ แต่ก็อย่าลืมภาษาประจำชาติของเราด้วยนะคะ

แหล่งที่มา http://mcpswis.mcp.ac.th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น